KIDS-D @ SWU >
[4800] สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ >
วารสาร/บทความ >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kids-d.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1497
|
Title: | การวิเคราะห์ิผลของภาวะเงินเฟ้อที่มีต่อภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
Authors: | ชูชุมพร, ธิดารัตน์ ศีลพิพัฒน์, สุนีย์ ปราบปรปักษ์, ปรัชญ์ |
Issue Date: | 21-Jul-2010 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของภาวะเงินเฟ้อที่มีต่อภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และผลของภาวะเงินเฟ้อที่มีต่อความเป็นธรรมทางภาษี ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์เป็นข้อมูลในช่วงปี 2509-2548 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์ผลทางทฤษฎีโดยใช้ข้อมูลรายได้แท้จริงที่กำหนดขึ้น และการวิเคราะห์ผลทางปฏิบัติโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ
ผลการวิจัยพบว่า ผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้มีเงินได้รับภาระภาษีเพิ่มขึ้น ผลทางทฤษฎี พบว่า ผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้มีเงินได้รับภาระภาษีเพิ่มขึ้น ยกเว้นในปี 2522, ปี 2528 และปี 2543-2545 การ
ปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราภาษี การเพิ่มการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ ในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้มีเงินได้รับภาระภาษีลดลง ผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้มีเงินได้มากรับภาระภาษีมากกว่าผู้มีเงินได้น้อยและทำให้ผู้ที่มีผู้พึ่งพาน้อยรับภาระภาษีมากกว่าผู้ที่มีผู้พึ่งพามาก สำหรับผลทางปฏิบัติ พบว่า ผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้มีเงินได้รับภาระภาษีมากขึ้น การปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีในช่วงภาวะเงินเฟ้อโดยการลดอัตราภาษีและขยายฐานเงินได้สุทธิของผู้มีเงินได้น้อยมีส่วนช่วยลดภาระภาษีได้ เช่น ในปี 2517, ปี 2523, ปี 2529, ปี 2532, ปี 2535, ปี 2542 และปี 2546 และหากมีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีพร้อมกับเพิ่มอัตราการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน เช่น ในปี 2517, ปี 2523, ปี 2532 และปี 2546 จะช่วยลดภาระภาษีในช่วงภาวะเงินเฟ้อได้มากขึ้น
ผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้การใช้โครงสร้างภาษีอัตราก้าวหน้าเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้ให้มีความเป็นธรรมทางภาษีลดลง ผลทางทฤษฎี พบว่า ผู้มีเงินได้น้อยได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อมากกว่าผู้ที่มีเงินได้มาก และผู้ที่มีผู้พึ่งพามากรับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อมากกว่าผู้ที่มีผู้พึ่งพาน้อย นั่นคือ ผลของภาวะเงินเฟ้อทำให้การใช้โครงสร้างภาษีอัตราก้าวหน้าเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้ให้มีความเป็นธรรมทางภาษีลดลง สำหรับผลทางปฏิบัติ พบว่า การปรับปรุงโครงสร้างภาษีในช่วงปี 2509-2548 ยังไม่สามารถขจัดผลของภาวะเงินเฟ้อที่มีต่อภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ทำให้การใช้โครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงปี 2509-2548 เป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้ให้มีความเป็นธรรมทางภาษีลดลง |
URI: | http://kids-d.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1497 |
Appears in Collections: | วารสาร/บทความ
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|